ภาษาไทย

สวัสดีค่ะ

ประสบการณ์ด้านการทำงาน

ตั้วมีโอกาสได้ทำงานทางด้านนักสังคมสังเคราะห์ที่สำนักงานด้านกฎหมายในซิดนีย์ดูแลผู้ประสบปัญหาในเรื่องความรุนแรงในครอบครัวแล้วก็ทำงานเป็นข้าราชการของรัฐนิวเซ้าเวลส์ดูแลผู้ที่ตกเป็นเหยื่อด้านอาชญากรรมรวมถึงผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ผู้โดนกระทำความรุนแรงทางเพศ โดนข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ถูกทำร้ายร่างกาย ครอบครัวของผู้ตกเป็นเหยื่อ ครอบครัวของผู้สูญเสียสมาชิกในครอบครัวจากการโดนฆาตกรรม

นอกจากประสบการทำงานในด้านการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต การทำงานในด้านการบำบัดสุขภาพจิต การให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตแล้ว ตั้วมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องระบบการดูแลสวัสดิภาพของประชาชนของหน่วยงานทั้งรัฐและหน่วยงานไม่หวังผลกำไร(NGO)ที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนในรัฐนิวเซ้าเวลส์ ขั้นตอนของระบบกฎหมายด้านอาชญากรรมและขั้นตอนของศาลชั้นต่างๆ

ประสบการณ์ในการทำงานของตั้วรวมถึงการให้ข้อมูลทั่วไปด้านสวัสดิการ การช่วยเหลือและส่งต่อไปหน่วยงานต่างๆ อย่างเช่น NSW Police, NSW Housing, Centrelink, IARC, Immigrant women’s Speakout, NSW Victims services, Women’s health centre, Community legal centre, Legal Aid, Mission Australia, Salvation Army, Baptist Care.

มรสุมชีวิตส่วนตัว

จากประสบการณ์ตรงของตั้วเองซึ่งเป็นเด็กต่างจังหวัด พอย้ายมาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียแล้วก็ไม่มีเพื่อน ไม่มีครอบครัวที่คอยให้ความช่วยเหลือและชี้แนะแนวทาง ตอนมาใหม่ๆก็รู้สึกตื่นเต้นแต่ในเวลาเดียวกันก็เก็บกดหดหู่มีความเครียดแล้วก็ทั้งก็วิตกกังวลอยากได้งานอยากหารายได้อยากพูดภาษาอังกฤษได้เร็วๆ พอยิ่งเครียดชีวิตก็ยิ่งหดหู่ พอได้ไปเรียนได้งานทำงานก็ยังไม่มีความสุข มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน โดนดูถูกโดนเหยียดผิว พอเจอเพื่อนดีๆ ก็ไม่รู้ว่าจะรักษาความสัมพันธ์กับเค้ายังไง เพราะเราเองก็ยังมีปัญหาข้างในที่ยังไม่ได้ดูแล วันเวลาผ่านไปมีแต่พักดันตัวเองเพื่อให้มีชีวิตรอดไปวันๆ รู้สึกถึงความกดดันจากหลายด้าน รู้สึกคนรอบข้างก็เหมือนไม่เข้าใจเราประมาณตัวเองอยู่ต่างประเทศโชคดีแล้วทุกอย่างดีไปหมด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครเข้าใจถึงปัญหาความโดดเดี่ยว ความหดหู่และกดดันที่เราต้องเจอ ตั้วเองได้เผชิญกับทั้งปัญหาในเรื่องภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลกะวนกะวายอยู่ตลอดเวลา แพนิกแอทแทค การไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง และอีกหลากหลาย คนที่เค้าไม่เข้าใจปัญหาของเราก็คิดว่าเรามีทัศนะคติไม่ดี นิสัยไม่ดี เข้ากับคนอื่นไม่ได้ ไม่รู้จักกาละเทศะ ซึ่งจริงๆแล้วพฤติกรรมต่างๆนั้นเกิดจากปัญหาที่เราเก็บสะสมข้างในมาเป็นเวลานานแล้วไม่เคยได้มีโอกาสจัดการแล้วก็ดูแลมัน พอตั้วได้เรียนรู้มีประสบการณ์และทำงานด้านสุขภาพจิตและผลกระทบของสุขภาพจิตบวกกับการได้ความช่วยเหลือจากนักให้คำปรึกษา (counsellor) ทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น เข้าใจวิธีการดูแลอารมณ์ที่ส่งผลถึงพฤติกรรมของตัวเอง การดูแลตัวเองจากภายในสู่ภายนอกทำให้อาการเหล่านั้นลดลงแล้วก็สามารถใช้ชีวิตที่มีสติ สงบและมีความสุขมากขึ้นและความสัมพันธ์กะคนรอบข้างก็ดีขึ้นมาก พอสุขภาพจิตดีขึ้นชีวิตดีขึ้นหน้าที่การงานดีขึ้นสุขภาพกายก็ดีขึ้นด้วยอีกทั้งคนรอบข้างเราก็มีความสุขขึ้นด้วย พอเจอปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว ปัญหาการงาน และปัญหาสุขภาพจิตตั้วก็เอาความรู้วิธีการและหลักการต่างที่ได้เรียนมามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

หลักการและแนวทางปฏิบัติที่ได้อบรมและนำมาฝึกปฎิบัติ

  • การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพจิต Psycho-Education

  • การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่มุ่งเน้นการยอมรับและมีพันธสัญญากับตัวเอง Acceptance and Commitment Therapy

  • การบำบัดด้วยการประมวลความคิด Dialectical Behaviour Therapy

  • การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม Cognitive Behaviour Therapy

  • การบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล Interpersonal Therapy

  • หลักการด้าน Trauma informed practice

  • การฝึกสติและการฝึกทักษะด้านการผ่อนคลาย Mindfulness and relaxation training

  • โครงสร้างการจัดลำดับชั้นในเรื่องสิ่งจำเป็นของชีวิตมนุษย์ Maslow’s Hierarchy of Needs

*สำหรับท่านที่ต้องการใช้ยาเพื่อช่วยในการบำบัดสุขภาพจิต กรุณาติดต่อนัดหมายกับคุณหมอใกล้บ้านนะคะ

อัตราค่าบริการ

ตอนนี้มีให้บริการผ่านทางออนไลน์เป็นวิดีโอคอลหรือโทรศัพท์ Individual session $150 ต่อครั้ง ครั้งล่ะ 50 นาที ถ้ามี a mental health treatment plan สามารถเคลมคืนได้ $85.20

ขั้นตอนการขอรับ a mental health treatment plan

นัดเจอและพูดคุยกับคุณหมอ GP ใกล้บ้าน คุณสามารถนำข้อมูลจากเว็บไซต์ไปให้คุณหมอดูได้ โดยปกติแล้วคุณหมอจะให้มา 6 ครั้งสำหรับเบื้องต้น หลังจากใช้หมด 6 ครั้ง สามารถปรึกษาคุณหมอเพื่อขอเพิ่มจำนวนได้ ในหนึ่งปีคุณมีสิทธิ์ขอ ได้ถึง 10 ครั้ง และต้องนำ a mental health treatment plan มาที่วันนัดด้วยค่ะ

A mental health treatment plan คืออะไร

ที่ออสเตรเลียมีระบบ a mental health treatment plan เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ประสบปัญหาทางด้านสุขภาพจิตโดยการช่วยคืนเงินค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาสุขภาพจิต a mental health treatment plan เป็นเอกสารที่คุณหมอเขียนขึ้นหลังจากพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพจิตรวมถึงเป้าหมายของการรักษาของคุณ

แนะนำตัว

สวัสดีค่ะชื่อตั้ว ฐิรญา เป็นนักสังคมสงเคราะห์ด้านสุขภาพจิตที่ได้รับการรับรองจากสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศออสเตรเลีย(AASW) ตั้วทำงานเป็นนักสงคมสงเคราะห์มาเกือบ 10 ปี เคยทำงานให้ทั้งหน่วยงานราชการและNGOของรัฐนิวเซ้าเวลส์ เรียนจบปริญญาโทรด้านนักสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาสัยซิดนีย์ (USYD)